XI’AN: ต้น “แปะก๊วย” อายุ 1,400 ปี ผลัดใบสีทองอร่ามวัดเจ้าแม่กวนอิม

ทุกฤดูใบไม้ร่วง ใบสีเหลืองทองของต้น แปะก๊วย อายุ 1,400 ปี ที่วัดเจ้าแม่กวนอิม (古观音禅寺) ในภูเขาจงหนาน (终南山) นครซีอาน จะปลิดใบพร้อมกัน ปกคลุมลานสนามของวัดจนดูราวกับเป็นผืนพรมทองคำ วัดเจ้าแม่กวนอิมแห่งนี้ เป็นวัดพุทธเก่าแก่ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อค.ศ. 628 ในสมัยราชวงศ์ถัง เชื่อกันว่าจักรพรรดิถังไท่จงทรงปลูกต้นแปะก๊วยต้นนี้ขึ้นด้วยพระองค์เอง

แปะก๊วย

แปะก๊วย

แปะก๊วย เป็นต้นไม้ที่ชาวตะวันออกเคารพนับถือ มีความสัมพันธ์ลึกซึ้ง ทั้งทางปรัชญาและศาสนา ในอดีตพืชชนิดนี้เคยเกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว มีหลงเหลืออยู่ตามธรรมชาติ แค่ในบางพื้นที่ของประเทศจีนเท่านั้น แต่เนื่องจากแปะก๊วยเป็นต้นไม้ที่นักบวชนิยมปลูกไว้บริเวณศาสนสถาน ทั้งในสมัยลัทธิเต๋ารุ่งเรือง สืบเนื่องมาจนถึงยุคพุทธ แปะก๊วยจึงกระจายพันธุ์ไปสู่ดินแดนต่างๆ พร้อมกับความเชื่อทางศาสนาที่แผ่ขยายออกไป ในจีน ขงจื๊อถ่ายทอดคำสอนให้กับลูกศิษย์ของเขาที่ใต้ต้นแปะก๊วย จนได้รับฉายาว่า “ปราชญ์ใต้ต้นแปะก๊วย” ส่วนในญี่ปุ่น ใบแปะก๊วยเป็นตัวแทนของความคงทน ไม่เปลี่ยนแปลง สัญลักษณ์รูปใบไม้สามเหลี่ยมสีเขียวของมหานครโตเกียว (東京都のシンボルマーク) ที่เห็นได้เป็นประจำบนรถไฟ Toei และสัญลักษณ์ของ “โทได” หรือ มหาวิทยาลัยโตเกียว (東京大学) ก็ล้วนแล้วแต่เป็นรูปของใบแปะก๊วย

นักพฤศษศาสตร์ให้คำจำกัดความต้นแปะก๊วยว่าเป็น “ฟอสซิลที่ยังมีชีวิต” ความเก่าแก่ของแปะก๊วยย้อนไปได้ไกลถึง 270 ล้านปี มีหลักฐานที่ถูกขุดค้นพบ ว่าฟอสซิลของใบแปะก๊วยจากยุคจูราสสิคตอนต้นนั้น เป็นสายพันธุ์เดียวกับที่พบได้ในปัจจุบัน หรืออธิบายอีกอย่างได้ว่าแปะก๊วยที่เรารับประทานกันอยู่ในปัจจุบัน คือพืชสายพันธุ์เดียวกับที่เป็นอาหารของไดโนเสาร์ มาตั้งแต่ยุคที่สายพันธุ์เรายังไม่มีตัวตนอยู่บนโลกเสียด้วยซ้ำ

635838830979973862

635838830968741842

635838830985589872

635838830996041890

[su_tabs][su_tab title=”Details”]
Location:
Gu Guanyin Temple (古观音禅寺)
Chang’an, Xi’an, Shaanxi, China

[su_gmap width=”1600″ address=”古观音禅寺”][su_gmap address=”The High Line”][/su_gmap]

[/su_tab][/su_tabs]


Images via Yicai.com

1 Comment

  • kaampu

    จำนวนต้นแปะก๊วยในประเทศจีนยังหลงเหลืออยู่เยอะมั้ยคะ

Comments are closed.

Magazine made for you.