Co-living Culture วัฒนธรรมใหม่ที่ชวนคุณมาอยู่ด้วยกันและอยู่ข้างๆ กันบนโลกใบนี้

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เราอยู่ในยุคที่แฮชแท็กกลายเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของคนรอบตัวและคนรอบโลกได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ ตัวอักษรไม่กี่ตัวที่อยู่หลังเครื่องหมาย # สามารถบอกได้ว่า คนยุคนี้สนใจอะไร สนุกกับเรื่องไหน และกังวลเรื่องอะไร

หนึ่งในแฮชแท็กที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้และอธิบายถึงพฤติกรรมความรู้สึกของคนเจเนอเรชั่นนี้ได้ดีไม่น้อยก็คือ #FOMO ซึ่งย่อมาจาก fear of missing out และมีแฮชแท็กขั้วตรงข้ามก็คือ #JOMO หรือ joy of missing out ซึ่งทั้งสองแฮชแท็กบ่งบอกได้ว่าคนยุคนี้ต้องการพื้นที่ส่วนตัวแต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากถูกตัดขาดจากคนอื่นเช่นกัน

ความรู้สึกต่างขั้วที่รวมอยู่ด้วยกันและเป็นลักษณะร่วมอย่างหนึ่งของคนยุคนี้นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตัวเลขของคนอายุ 25-34 ปีที่อาศัยอยู่ร่วมกันกับคนอื่นมีจำนวนมากขึ้น จากสถิติของ Pew Research Center ที่สำรวจในอเมริกาเมื่อปี 2015 เปอร์เซ็นต์ของคนวัยนี้ที่เช่าบ้านร่วมกับคนอื่นสูงขึ้นจาก 5.7 เปอร์เซ็นต์ในปี 2005 เป็น 7.4 เปอร์เซ็นต์ในปี 2015 ซึ่งเท่ากับเพิ่มขึ้นถึง 39 เปอร์เซ็นต์จากเดิมภายในระยะเวลาเพียง 10 ปี

fine-arts-building-coworking-41

ยังไม่นับกระแสของที่พักแบบ Airbnb ที่หลายคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นรูปแบบที่พักที่นอกจากเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าทางการเงินแล้ว ยังตอบสนองความรู้สึกที่เป็นลูกผสมระหว่าง #FOMO และ #JOMO ของหลายคนอีกด้วย เช่นเดียวกับพื้นที่ทำงานที่เรียกว่า Co-working Space ที่เอื้อให้คนจำนวนหนึ่งที่โดยลักษณะงานต้องทำงานคนเดียว ได้มีโอกาสพบปะผู้คน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ทั้งที่ไม่ได้ทำงานด้วยกัน จนกลายเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของสถานที่ทำงานที่พบได้ตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และพัฒนาความเป็นคอมมูนิตี้ที่เชื่อมโยงกันด้วยสเปซที่ใช้ทำงาน

media_wonderbread

อาจเพราะ Co-working Space ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาทำให้เห็นว่า ความคิดสร้างสรรค์บางครั้งก็มาจากการใช้เวลาร่วมกับคนอื่นและการเรียนรู้จากความแตกต่าง ทำให้ไอเดียของการสร้างคอมมูนิตี้ขยายไปถึงเรื่องการใช้ชีวิต ไม่ใช่แค่เรื่องการทำงานเท่านั้น และเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมใหม่อย่าง Co-living ที่เส้นแบ่งระหว่างเวลางานและเวลาส่วนตัวจางลง วัฒนธรรมที่ทำให้พลังของความเป็นคอมมูนิตี้ชัดขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมากขึ้น

west-broadway-coworking-17

ดัชนีที่ชี้ถึงการขยายตัวของวัฒนธรรม Co-living อย่างหนึ่งก็คือการที่ธุรกิจ Co-working Space บางแห่งปรับเปลี่ยนโมเดล หรือแตกไลน์ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนยุคนี้มากขึ้น อย่างเช่น WeWork ในนิวยอร์ก Co-working Space ที่เริ่มจากการเป็นสตาร์ทอัพในปี 2010 โดยวางโพสิชั่นตัวเองว่าเป็น ‘inspiring workspace’ ที่ทุกคนจะได้รู้จัก เรียนรู้ และเติบโตไปด้วยกัน ซึ่งทุกวันนี้มีสาขาของ WeWork มากถึง 54 แห่ง ทั้งในอเมริกา, ยุโรป และเอเชีย โดยเมื่อไม่นานมานี้ WeWork ได้เปิดตัว WeLive สเปซสำหรับผู้เช่าที่มาจากการเจาะอินไซต์ของวัฒนธรรม Co-living โดยชูจุดขายว่าเป็นคอมมูนิตี้สำหรับคนที่ “do what you love” ทั้งยังขยายความหมายของ work-life balance ให้กว้างขึ้นเป็น work-fun-life

old-street-office-space-24

media_soho_west

media_south_bank

times-square-coworking-17

ในอพาร์ตเมนต์ของ WeLive ในนิวยอร์กนั้น รวมเอาทั้งเรื่องงานและเรื่องไลฟ์สไตล์เอาไว้ในที่เดียวกัน เพราะนอกจากแต่ละคนจะมีห้องพักส่วนตัวแล้ว ยังสามารถใช้พื้นที่ส่วนรวมที่มีทั้งครัว บาร์ ห้องออกกำลัง ห้องซักผ้า โต๊ะปิงปอง และพื้นที่ทำงานได้ เป็นสเปซที่รวมเอาคอนเซปต์ของ Co-working, Co-recreation และ Co-lifestyle เอาไว้บนชั้น 7 ของตึกเลขที่ 110 บนถนนวอลล์สตรีท

co-living-apartments-welive-new-york-city-usa02

co-living-apartments-welive-new-york-city-usa

ข้ามฝั่งมาที่ยุโรปกันบ้าง Sun and Co ในสเปนคืออีกหนึ่งสเปซที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมนี้ในรูปแบบการดัดแปลงตึกเก่าในศตวรรษที่ 19 ให้เป็น Co-living และ Co-working Community แห่งแรกในแถบชายฝรั่งเมดิเตอร์เรเนียน โดยเริ่มจากความเชื่อที่ว่าการรักษาสมดุลในการทำงานและการสร้างความสุขในการใช้ชีวิตสามารถสร้างได้จากที่เดียวกัน ทั้งยังมั่นใจว่านั่นคือสิ่งที่ Sun and Co จะสามารถมอบให้กับสมาชิกทุกคนในคอมมูนิตี้นี้

coliving

ในเอเชียเอง ญี่ปุ่นเองเป็นประเทศแรกๆ ที่รับเอาวัฒนธรรมนี้มาระยะหนึ่งแล้ว โดยหนึ่งใน Co-living Space ที่นำเทรนด์นี้ในญี่ปุ่นก็คือ Share House LT Josai ในนาโกย่า ที่มองจากภายนอกอาจจะดูเหมือนตึกเรียบๆ ตึกหนึ่ง แต่เมื่อเข้าไปข้างในจะเจอกับการจัดพื้นที่เป็นห้องนอน 13 ห้อง และพื้นที่ใช้ร่วมกัน ตั้งแต่ห้องครัว ห้องอาหาร ไปจนถึงห้องนั่งเล่น

031

dezeen_share-house-lt-josai-by-naruse-inokuma-architects_ss11

dezeen_share-house-lt-josai-by-naruse-inokuma-architects_ss12

เมืองไทยเองหลังจากที่รับเอาเทรนด์เรื่อง Co-working Space เข้ามาเมื่อหลายปีก่อน จนเกิด Co-working Space ที่กระจายตัวอยู่แทบทุกย่านในกรุงเทพฯ ซึ่งกลายเป็นที่ทำงานประจำของฟรีแลนซ์จำนวนไม่น้อยและสร้างความเป็นคอมมูนิตี้ได้ในระดับหนึ่ง ช่วงที่ผ่านมานี้ก็เริ่มมีกระแสที่พูดถึง Co-living Space บ้างแล้วเช่นกัน โดยเฉพาะในฝั่งของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่บางบริษัทเริ่มนำคอนเซปต์นี้มาใช้ประกอบการออกแบบคอนโดมิเนียม ออกมาเป็นดีไซน์ที่อยู่บนความเชื่อที่ว่า คนเราทุกวันนี้มักจะมองหาประสบการณ์ใหม่ๆ แต่เป็นประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เริ่มจากที่บ้านและชุมชนใกล้ตัว

รูปแบบของโครงการที่มาจากความเชื่อนี้ จึงเป็นที่พักที่เอื้อต่อการได้ใช้เวลาร่วมกันกับคนรอบข้าง ขณะเดียวก็ยังสามารถสร้างโลกส่วนตัวที่รวมเรื่องงานและไลฟ์สไตล์เอาไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งเป็นการออกแบบที่ทำให้ #JOMO เป็นสิ่งที่สร้างได้ ทั้งยังทำให้ #FOMO ไม่ใช่ความน่ากังวลอีกต่อไป เพราะเป็นวิถีชีวิตที่จะชักชวนให้คนรอบตัวมาใช้เวลาด้วยกันมากขึ้นจนเกิดเป็นคอมมูนิตี้ที่หลากหลาย และเก็บประสบการณ์จากการอยู่ด้วยกันนั้นไว้ใช้สร้างอิสระในชีวิตของตัวเองได้ในที่สุด

Spends most of her time juggling among different things: working as an independent editor/writer for various medias in Thailand, freelancing for publications/websites in the U.S., playing with kindergarten kids, and having ice cream without telling her mom. Likes traveling almost as much as taking a nap.

Magazine made for you.