จากวันวานถึงปัจจุบัน ของพิพิธภัณฑ์มีชีวิตชื่อ ‘สีลม’

“อะไรคือสิ่งแรกที่นึกถึง เมื่อพูดถึงสีลม”

คำถามสั้นๆ เพียงประโยคเดียวนี้ หากถามกับคนต่างวัย ต่างอาชีพกัน คำตอบที่ได้คงจะแตกต่างกันไปตามความทรงจำที่แต่ละคนมีต่อย่านกลางกรุงย่านนี้ หลายคนอาจมองว่าที่นี่เป็นทำเลทอง เพราะเป็นที่ตั้งของออฟฟิศชั้นนำจำนวนมาก และเป็นย่านที่มีคอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์คู่ไปกับเส้นทางรถไฟฟ้า ขณะที่ฟู้ดดี้ในกรุงเทพฯ อาจจะนึกถึงที่นี่ในมุมมองของพิกัด ที่ต้องเช็คอินอย่างน้อยสัปดาห์เพราะมีทั้งร้านอร่อยดั้งเดิมและร้านเปิดใหม่ให้ลองอยู่เสมอ แต่สำหรับอีกหลายคนกลับเป็นย่าน nostalgia ที่ทำให้พวกเขานึกถึงช่วงเวลาสมัยยังเป็นนักเรียนและต้องมาที่นี่ทุกวันติดต่อกันหลายปี

สีลม

สีลม

ความหลากหลายที่มีเรื่องราวมาอย่างยาวนานของสีลมทำให้บริเวณนี้เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่แม้จะเปลี่ยนโฉมไปตามเวลา แต่ข้อเท็จจริงที่ไม่เคยเปลี่ยนก็คือบันทึกทางประวัติศาสตร์ของสีลมเริ่มต้นขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันกับการเกิดขึ้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ความร่วมสมัยระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคตจึงเป็นส่วนผสมของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

CC-Silom-28

CC-Silom-29

เพราะความเจริญในยุคกว่าสองศตวรรษก่อนมักจะแผ่ขยายออกมาจากน้ำ ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมของคนในอดีต การลัดเลาะเพื่อตามหาหลักฐานประวัติศาสตร์ในสีลมหลายแห่งจึงต้องเลียบริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในซอยเล็กๆ บนถนนโยธาใกล้กับท่าเรือเป็นที่ตั้งของโบสถ์กาลหว่าร์ ซึ่งรัชกาลที่ 1 พระราชทานที่ดินให้กับชุมชนคริสต์ในปี พ.ศ.2330 หลังจากสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ได้ไม่นาน แม้อาคารแบบนีโอโกธิคของโบสถ์ที่เห็นในปัจจุบันจะเป็นอาคารที่สร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 แทนอาคารเดิมที่ถูกไฟไหม้ แต่ความสำคัญในฐานะโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็ยังคงเดิม ซึ่งเมื่อมองโบสถ์แห่งนี้ควบคู่ไปกับโบสถ์อื่นๆ และสถานที่ทางศาสนาที่ต่างกันแต่อยู่ในย่านเดียวกันอย่างวัดแขก ก็เห็นภาพหลักฐานที่บ่งชี้ว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่รวมอยู่ในสีลมเป็นสิ่งที่มีมาแต่ไหนแต่ไร

CC-Silom-5

CC-Silom-4

CC-Silom-6

DSCF2012

CC-Silom-22

CC-Silom-23
CC-Silom-24

CC-Silom-27

DSCF2229

หากแม่น้ำและลำคลองคือการสัญจรที่เป็นตัวแทนของวิถีไทยในอดีต ถนนตัดใหม่ที่ใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบตะวันตกก็น่าจะเป็นตัวแทนของชาวยุโรปที่ใช้ชีวิตอยู่ในสยาม ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2404 กลุ่มกงสุลและพ่อค้าต่างชาติเหล่านี้ได้รวมตัวกันยื่นเรื่องต่อกรมท่า ถวายฎีกาเพื่อขอให้รัฐบาลสร้างถนน โดยให้เหตุผลว่า “…ชาวยุโรปเคยขี่รถ ขี่ม้าเที่ยวตากอากาศได้ความสบายไม่มีไข้ เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนืองๆ…” รัชกาลที่ 4 เองทรงเห็นสมควรกับการสร้างถนน ดังนั้น ในปี พ.ศ.2404 จึงมีพระบรมราชโองการให้ตัดถนน 3 สาย ได้แก่ ถนนเจริญกรุง ถนนหัวลำโพง และถนนสีลม เมื่อมาถึงรัชกาลที่ 5 ก็ได้เกิดถนนใหม่อีกหลายเส้น รวมถึงถนนสาทร ถนนอีกเส้นที่มีความสำคัญไม่แพ้ถนนสีลม

สีลม

DSCF2003

DSCF2130

CC-Silom-19

DSCF2166

DSCF2177

DSCF2225

CC-Silom-9

DSCF2341

เมื่อความเจริญเริ่มย้ายจากตรอกซอยริมแม่น้ำเจ้าพระยามาล้อมถนนมากขึ้น สีลมเมื่อเกือบ 100 ปีก่อน โดยเฉพาะช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเป็นทั้งย่านธุรกิจและที่พักอาศัยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นอกจากร้านค้าแล้ว ธุรกิจที่เกิดขึ้นในย่านนั้นจึงมีทั้งอาคารพาณิชย์ให้เช่าและธุรกิจที่พักอาศัย ซึ่งน่าจะเทียบได้กับอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมในยุคนี้

หลังช่วง พ.ศ.2500 ความเป็นย่านธุรกิจของสีลมเริ่มชัดยิ่งขึ้น บริษัทชั้นนำจำนวนมาก โดยเฉพาะสถาบันการเงินและธุรกิจประกันภัยหลายแห่ง เลือกให้ที่นี่เป็นที่ตั้งของสำนักงาน จนเป็นที่มาของฉายา ‘วอลล์สตรีทของเมืองไทย’ ซึ่งสิ่งที่มาพร้อมกับบริษัทเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็คือชาวต่างชาติ โดยเห็นได้จากร้านอาหารสัญชาติต่างๆ ที่กระจายกันอยู่ทั่วย่านสีลม ไม่ว่าจะเป็นภัตตาคารอาหารจีนแชงการีลาที่เปิดบริการมาตั้งแต่ พ.ศ.2512 ร้าน Mizu’s Kitchen ในพัฒน์พงษ์ที่เปิดมานานกว่า 50 ปีและยังคงเอกลักษณ์ของคาเฟ่สไตล์ญี่ปุ่นที่เสิร์ฟอาหารตะวันตกบนโต๊ะที่ปูผ้าสีขาว-แดง หรือ Hamilton’s สเต็กเฮาส์ร้านเก่าแก่ในโรงแรมดุสิตธานีที่เสิร์ฟสเต็กระดับพรีเมียมมานานหลายสิบปี

CC-Silom-14

DSCF2098

DSCF2033

CC-Silom-2

ความหลากหลายของร้านอาหารในสีลมยังคงเป็นคาแรกเตอร์ที่สืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะบริเวณซอยสาทร 10 และ 12 ที่มีความเป็นนานาชาติตั้งแต่หัวซอยจนถึงท้ายซอย ซึ่งยกเครดิตส่วนหนึ่งให้กับร้านที่เพิ่งเปิดใหม่เมื่อราว 2-3 ปีที่ผ่านมา อย่าง Rocket คอฟฟี่บาร์ที่เสิร์ฟอาหารสแกนดิเนเวียนคู่กับกาแฟ Revolucion ค็อกเทลบาร์ธีมละตินอเมริกัน Hanakaruta บาร์สไตล์ญี่ปุ่น และ kai ร้านอาหารนิวซีแลนด์แท้ๆ ที่น่าจะมีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นในเมืองไทย ร้านเหล่านี้เป็นสิ่งที่ตอกย้ำจุดเด่นเรื่องนี้ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

CC-Silom-15

DSCF2260

DSCF2289

DSCF2316

DSCF2318

DSCF2026

DSCF2022

CC-Silom-17

CC-Silom-13

นอกจากนี้ ร้านอาหารและบาร์เหล่านี้ยังทำให้สีลมกลายเป็นย่านที่ไม่เคยหลับ ถนนสายต่างๆ ที่คลาคล่ำไปด้วยคนทำงานในช่วงเช้า ช่วงกลางวัน และหลังเลิกงาน พอตกค่ำก็กลายเป็นแหล่งสังสรรค์ของคนวัยทำงาน แต่ในบรรยากาศของการสังสรรค์นั้น บ่อยครั้งยังแฝงไปด้วยประวัติศาสตร์ของสีลมอยู่ในฉากหลังเพราะหลายร้านตั้งอยู่ในอาคารเก่าที่เคยบันทึกเรื่องราวในอดีตเอาไว้ อย่างเช่น The House on Sathorn ที่ดัดแปลงอาคารเก่าสไตล์โคโลเนียล อายุ 126 ปีที่เคยใช้เป็นสถานทูตรัสเซียให้เป็นร้านอาหารจนกลายเป็นที่พูดถึงอย่างมากในเรื่องความสวยคลาสสิก

DSCF2066

CC-Silom-11

DSCF2050

CC-Silom-26

เพราะมีครบทุกอย่างที่ตอบโจทย์ได้ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว สีลม จึงเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของหลายคนที่มองหาที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในรูปแบบของคอนโดมิเนียม อย่างโครงการ Ashton Silom ที่พักอาศัยระดับท็อปคลาสโครงการใหม่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรีที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตในสีลมได้อย่างสะดวกสบาย สมกับเป็นทำเลทองที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ มาตลอดหลายสิบปี

อย่างไรก็ตาม หากมองให้ลึกลงไปกว่าสีสันและความมีชีวิตชีวาแล้ว การใช้ชีวิตในย่านนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของไลฟ์สไตล์เท่านั้น เพราะในอีกแง่หนึ่งยังหมายถึงการเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่เปลี่ยนไปตามเวลาและส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่ชื่อ สีลม นั่นเอง

สามารถลงทะเบียนก่อนใครได้ที่ www.ananda.co.th โทร 02 316 2222


Photography by Dootruedee Chomboon | Danaya Bunnag | Isara Uthaichalanond

Spends most of her time juggling among different things: working as an independent editor/writer for various medias in Thailand, freelancing for publications/websites in the U.S., playing with kindergarten kids, and having ice cream without telling her mom. Likes traveling almost as much as taking a nap.

Magazine made for you.