The Hippie Trail เส้นทางฮิปปี้ข้ามทวีปจากยุโรปสู่เอเซียของเหล่าบุปผาชน

ในช่วงทศวรรษที่ 60 และ 70 ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษมีกลุ่มชนที่เรียกตัวเองว่าบุปผาชน” หรือฮิปปี้” เป็นพวกที่ประกาศตนเองว่าเป็นพวกที่รักเสรีภาพ มีวิถีชีวิตย้อนกระแสสังคมแตกต่างจากคนปกติธรรมดาทั่วไป ไม่ว่าจะด้านการแต่งกาย ทรงผมหนวดเครา ดนตรี ยาเสพติด แนวคิดและการดำรงชีวิต บางคนให้คำนิยามว่าฮิปปี้คือ “เด็กแนว” หรือ “ฮิปสเตอร์” ของยุค 60 บ้างก็ว่าคนกลุ่มนี้เป็นพวกต่อต้านสังคม บ้างก็ว่าเป็นพวกขี้ยาจรจัด ต่อมาวัฒนธรรมฮิปปี้ได้แพร่หลายไปยังหลายประเทศโดยเฉพาะในยุโรป

cc-hippietrail-map

The Hippie Trail คือเส้นทางทางบกที่พวกฮิปปี้นิยมใช้ในการเดินทางจากยุโรปมายังอินเดีย โดยเฉพาะเมื่อ The Beatles เดินทางไปอินเดียในค.ศ. 1968 ทำให้มีผู้คนเดินทางท่องเที่ยวเพื่อจะไปให้ถึงอินเดียเพิ่มขึ้น การเดินทางของพวกฮิปปี้ ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัยหนุ่มวัยสาว จะเลือกการเดินทางทางบกที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย เช่น การโบกรถ การขึ้นรถโดยสารสาธารณะ รถไฟ และพักในโรงแรมราคาถูก ซึ่งมักจะเป็นโรงแรมที่บอกต่อต่อกันในหมู่ของพวกเขา ระยะเวลาในการเดินทางตลอดเส้นทาง The Hippie Trail กินเวลาประมาณสองถึงสามเดือนเป็นอย่างต่ำ ในยุคนั้นชื่อเส้นทางยังไม่ได้ถูกบัญญัติขึ้น เมื่อเหล่าฮิปปี้จะออกเดินทาง พวกเขาจะใช้คำว่า “ไปอินเดีย” ถือว่าเป็นอันรู้กัน บางกลุ่มก็ขับรถเดินทางกันเอง บางกลุ่มก็เหมารถบัส อย่างที่อังกฤษก็มีบริการรถทัวร์ระยะไกลจากลอนดอนสู่กัลกัตตาที่ชื่อว่า Indianman เป็นเจ้าแรกเมื่อค.ศ. 1957 เพื่อรองรับการเดินทางในเส้นทางนี้

The Hippie TrailBruce Barrett / Flickr

492881547_9d2d85b4a3_bคณะเดินทาง ค.ศ. 1971 | David Smith 1971 (จาก the Asia Overland Hippie Trail Archive) via Rory MacLean / Flickr

hippie-trail-overland-1970ซีเรียตะวันออก ค.ศ. 1970 | vanoverland.wordpress.com

492881571_d2f3018210_bบรรยากาศในรถทัวร์ที่มุ่งหน้าสู่อินเดีย ค.ศ. 1975 | Jonathan Benyon 1975(จาก the Asia Overland Hippie Trail Archive) via Rory MacLean / Flickr

topdeck002pลอนดอนสู่กาฐมาณฑุ ค.ศ. 1978 | | vanoverland.wordpress.com

hiptrail09

เส้นทางของ The Hippie Trail ในสมัยก่อนนั้นจะเริ่มจากลอนดอน หรือ อัมสเตอร์ดัม แล้วมุ่งหน้าไปทางตะวันออก ผ่านประเทศต่างๆ ในยุโรป เช่น ยูโกสลาเวีย กรีซ หรือบัลกาเรีย จนถึงตุรกี ที่เมืองอิสตันบูล ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มการเดินทางนั้น พวกเขาจะมีสถานที่นัดพบคือ The Pudding Shop (The Lale Restaurant) ซึ่งเป็นร้านที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้คนที่ต้องการเดินทางจากยุโรปมาเอเชีย จากจุดนัดพบแห่งนี้บางพวกจะเดินทางลงใต้ไปเลบานอนก่อน แต่ส่วนใหญ่จะเดินทางไปกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน ผ่านทะเลทรายคาวีร์ (Great Salt Desert) เพื่อไปที่เมืองเฮรัตและกรุงคาบูลในอัฟกานิสถาน จากนั้นก็จะเดินทางต่อไปยังปากีสถาน บางกลุ่มจะขึ้นเหนือไปเมืองจิตราล แต่ส่วนใหญ่จะเดินทางเข้าอินเดีย ทางตอนเหนือ ไปยังแคชเมียร์และมะนาลี ซึ่งสองเมืองนี้เป็นแหล่งเพาะปลูกกัญชาสำคัญในอินเดีย

hiptrail08เมืองราเมศวรัม อินเดีย ค.ศ. 1969 | Bruce Thomas / Flickr

hiptrail10เมืองราเมศวรัม อินเดีย ค.ศ. 1969 | Bruce Thomas / Flickr

TheHippieTrail03เมืองราเมศวรัม อินเดีย ค.ศ. 1969 | Bruce Thomas / Flickr

TheHippieTrail02สาวฮิปปี้ที่กรุงกาฐมาณฑุ ค.ศ. 1969 | Bruce Thomas / Flickr

492884116_7c2578adc3_bปาร์ตี้ในบ้านเรือที่แคชเมียร์ ค.ศ. 1975 |Chris Weeks 1975 (จาก the Asia Overland Hippie Trail Archive) via Rory MacLean / Flickr

492881543_8d09e80eda_bจุดนัดพบเหล่าฮิปปี้ ร้าน Pudding Shop ที่กรุงอิสตันบูล ค.ศ. 1978 | Curt Gibbs 1978 (จาก the Asia Overland Hippie Trail Archive) via Rory MacLean / Flickr

ในช่วงหน้าหนาว พวกเขา จะเดินทางลงใต้ ไปยังเมืองโกอา เมืองชายทะเลทางฝั่งตะวันตกของอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองที่กัญชาหาได้ง่าย ถึงแม้จะไม่ได้เป็นเมืองที่เพาะปลูกกัญชาเหมือนทางเหนือก็ตาม และเนื่องจากเป็นเมืองปลายทางยอดนิยม ที่เมืองนี้ยังมีการจัดตั้งชุมชนฮิปปี้ขึ้นอีกด้วย แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าร้อน เส้นทางของ The Hippie Trail จะไปสิ้นสุดลงที่เทือกเขาในประเทศเนปาล ที่ซึ่งมีร้านขายกัญชาถูกกฏหมายอยู่ที่นั่น

เหล่าฮิปปี้ในยุคนั้นไม่ชอบให้ใครมาเรียกพวกเขาว่าฮิปปี้ (เช่นเดียวกับที่ฮิปสเตอร์ยุคนี้ ที่มักไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นฮิปสเตอร์เช่นกัน) พวกเขาชอบที่จะถูกเรียกว่าเป็น “ตัวประหลาด” มากกว่า ดังนั้น แหล่งรวมตัวของพวกเขาในกรุงกาฐมาณฑุ จึงมีชื่อเล่นว่า “ถนนตัวประหลาด” หรือ Freak Street ซึ่งมีชื่อจริงคือถนน Jhhonchen Tole หรือ Jochen Tole ที่อยู่ไม่ห่างจากจัตุรัสดูร์บาร์ใจกลางเมือง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะสิ้นสุดการเดินทางที่อินเดียหรือเนปาล แต่ก็ยังมีบางส่วนที่เดินทางต่อเข้ามายังดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้สู่ประเทศไทย

651562677_89e57bdc19_bหิมาลัย ค.ศ. 1977 |Daniel Smaller via Rory MacLean / Flickr

651562699_98a08d24fa_bอาบน้ำกลางแจ้งที่แม่น้ำในทิเบต ค.ศ. 1977 | Daniel Smaller via Rory MacLean / Flickr

492897079_d689213fa6_bรถทัวร์ทางไกล The Silver Express ค.ศ. 1975 | Rory MacLean / Flickr

Hippie trail

พระพุทธรูปบามิยัน อัฟกานิสถาน ค.ศ. 1978 | Curt Gibbs 1978 (จาก the Asia Overland Hippie Trail Archive) via Rory MacLean / Flickr

492884158_6325f48056_bตลาดแองจูน่าที่เมืองชายทะเลโกอา ค.ศ. 1975 | Jonathan Benyon 1975 (จาก the Asia Overland Hippie Trail Archive) via Rory MacLean / Flickr

492884114_44fd3a18e8_bร้านกัญชาใจกลางกรุงกาฐมาณฑุ ค.ศ. 1972| Tony Wheeler 1972(จาก the Asia Overland Hippie Trail Archive) via Rory MacLean / Flickr

492871570_a421e77cdc_bฮิปปี้จากแคลิฟอร์เนียในอัฟกานิสถาน ค.ศ. 1978 | Curt Gibbs 1978 (จาก the Asia Overland Hippie Trail Archive) via Rory MacLean / Flickr

295510115_48a55fab90_zถนนสายหลักในกลุงคาบูล ค.ศ. 1973 | SamsaraBound / Flickr

hiptrail04ชัยปุระ อินเดีย ค.ศ. 1969 | Bruce Thomas / Flickr

hiptrail05ตะวันออกเฉียงเหนือของตุรกี ค.ศ. 1969 | Bruce Thomas / Flickr

hiptrail06มันนาร์ ศรีลังกา ค.ศ. 1969 | Bruce Thomas / Flickr

การเดินทางของ The Hippies Trial สิ้นสุดความนิยมในปลายยุค 70 เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในหลายประเทศในแถบนั้นทำให้การเดินทางผ่านประเทศต่างๆ ลำบากมากขึ้น ขั้นตอนการขอวีซ่ายุ่งยากมากขึ้น แต่ก็ยังมีการเดินทางประปรายโดยปรับเปลี่ยนเส้นทางให้เหมาะสม แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมและยุติลงโดยปริยาย  จนกระทั่งช่วงกลางของยุค 2000 จึงเริ่มมีการตามรอย The Hippies Trail อีกครั้ง แต่สถานการณ์ทางการเมืองและการสู้รบในแถบนั้นทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างยากลำบากอยู่ดี


Cover image by east med wanderer / Flickr

A digital writer who was born in the age of pen.

Magazine made for you.