UK: ตามรอย The Imitation Game สู่ Bletchley Park พิพิธภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของหน่วยรหัสลับอังกฤษ
เชื่อว่าหลายคนที่ได้ชมภาพยนตร์ The Imitation Game แล้ว น่าจะทึ่งกับเรื่องราวของเครื่องเข้ารหัส Enigma ของนาซีเยอรมัน และเครื่องถอดรหัสต้นแบบ (Bombe) ที่ Alan Turing ประดิษฐ์ขึ้นมา หรือแม้กระทั่ง “โรงงานวิทยุ” หรือ Bletchley Park พื้นที่ปฏิบัติการของหน่วยงานด้านรหัสลับของรัฐบาลอังกฤษ ที่เห็นกันในภาพยนตร์ว่า Alan Turing ปั่นจักรยานมาทำงานทุกวัน แต่ละหน่วยทำงานกันในอาคารหลังเล็กๆ (Hut) คอยรับ ตรวจสอบ และแปลช้อมูลรหัสลับที่ดักได้ในช่วงสงคราม ซึ่งเชื่อกันว่าช่วยให้สงครามโลกครั้งที 2 จบลงเร็วขึ้น 2-3 ปี และยังมีส่วนช่วยในการวางแผน เลือกจุดวันยกพลขึ้นบก (D-Day วันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944) ที่หาด Normandy ประเทศฝรั่งเศษซึ่งถือเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์มากที่สุดวันหนึ่งอีกด้วย
Bletchley Park ตลอดจน Hut ต่างๆ ปัจจุบันยังคงตั้งอยู่ที่เดิมที่เมือง Buckinghamshire และได้มีการเปิด The National Museum of Computing (TNMOC) ขึ้นมาเมื่อปี 2007 เพื่อเก็บและจัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งแน่นอนว่า ที่นี่มีเครื่อง Enigma และเครื่อง Bombe (เครื่องถอดรหัสที่ในภาพยนตร์เรียกว่า Chirstopher) ของจริงจากยุคสงครามโลกจัดแสดงอยู่ ซึ่งรวมไปถึงคอมพิวเตอร์รุ่นบุกเบิกชนิดต่างๆ อย่างเช่น เครื่อง Colossus computer ซึ่งถือเป็น electronic digital computer เครื่องแรกของโลกที่ Alan Turing มีส่วนช่วยในการออกแบบขึ้นมา เพื่อใช้ในการถอดรหัสลับทางทหารของเยอรมันเช่นเดียวกัน (แต่ว่าไม่มีการพูดถึงในภาพยนตร์)
การเดินทางไปเยี่ยมชมที่นี่นั้นสะดวกมาก Bletchley Park อยู่ห่างจาก London ไม่ถึงชั่วโมงโดยการเดินทางด้วยรถไฟ สามารถขึ้นรถไฟจากสถานี London Euston ตรงไปลงที่สถานี Bletchley ได้เลย Bletchley Park อยู่ติดกับสถานีในระยะเดินถึงได้
ตึก Mansion ที่ Bletchley Park (Image: Bletchley Park Trust)
ในช่วงเริ่มต้นโครงการ หน่วยงานรหัสลับของรัฐบาลอังกฤษซึ่งประกอบไปด้วย นักภาษาศาสตร์ และ นักถอดรหัส รวมทีมและปฏิบัติงานกันที่อาคารหลังนี้ ภายใต้การควบคุมของ Alastair Denniston นายทหารราชนาวีอังกฤษ จนกระทั่ง Alastair สืบทราบว่ากองทัพนาซีเยอรมันใช้อุปกรณ์ระบบไฟฟ้าในการสื่อสารข้อความรหัสลับ จึงได้มีการระดมสมาชิกใหม่ในสายงานต่างๆ จากมหาลัยชั้นนำอย่าง Oxford และ Cambridge มาร่วมทีมเพิ่ม ซึ่งมีทั้งเหล่าศาสตราจารย์ นักคณิตศาสตร์ แชมป์หมากรุก รวมไปถึงนักประวัติศาสตร์
เครื่องเข้าและถอดรหัสสารลับ Enigma ของกองทัพนาซีเยอรมัน (Image: Bletchley Park Trust)
โต๊ะทำงานของ Alan Turing ที่ถูกจำลองขึ้น ด้านหลังมีถ้วย enamel ของเขาถูกเอาโซ่ล่ามไว้กับเครื่องทำความร้อน ซึ่งเป็นหนึ่งในพฤติกรรมแปลกๆของ Turing ในขณะที่เขาทำงานที่นี่ เขามักจะปั่นจักรยานไปไหนมาไหน โดยใส่หน้ากากกันแก๊สเอาไว้ด้วยเนื่องจากเขามีอาการแพ้จากไข้ละอองฟาง หรือบางครั้งเขาก็มักจะซ้อมพูดกับตุ๊กตาหมีเท็ดดี้ชื่อ Porgy ที่เขาซื้อให้ตัวเอง เพราะในวัยเด็กเขาไม่เคยมีตุ๊กตาหมีมาก่อน (Image: Simon Hawketts)
The Huts อาคารปฏิบัติงานการถอดรหัสลับ
ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ดำเนินไป จำนวนเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรหัสลับที่ Bletchley Park ก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จนต้องมีการก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับ ในปีค.ศ. 1944 มีเจ้าหน้าที่ชายและหญิงประจำอยู่ที่นี่ราว 10,000 คน
Hut 3 และ Hut 6 คือสถานที่ที่หน่วยถอดรหัสและหน่วยข้าวกรอง จะได้รับข้อความ Enigma จากกองทับบกและกองทัพอากาศ (Image: SBA73)
ลักษณะห้องทำงานในอาคารปฏิบัติงาน ข้อความเข้ารหัสต่างๆที่ถูกแปลจะถูกเขียนไว้บนกระดานดำ (Image: Chris Mullineux)
บรรยากาศของห้องภายใน Hut 3 ที่ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข่าวกรองและรหัสลับทางทหารที่ได้รับการแปลงแล้ว (Image: Sandy Kemsley)
เครื่อง TypeX Machines คืออุปกรณ์แปลงสารที่ใช้กันใน Hut 3 ในขณะนั้น เจ้าหน้าที่จะใส่ข้อความ พร้อมด้วยใส่การตั้งค่าเครื่อง Enigma ที่ถูกต้องลงไปในเครื่องเพื่อถอดรหัส (Image: Beechgarave)
เครื่อง Bombe และคอมพิวเตอร์ยุคบุกเบิกรุ่นอื่นๆ
Turing มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เครื่อง Bombe ที่เขาออกแบบร่วมกับนักถอดรหัสในทีม ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสนับสนุนหน่วยข่าวกรองของสหราชอาณาจักร ในการสืบข้อมูลแผนการของฝั่งเยอรมัน ด้วยการถอดรหัสเครื่อง Enigma
เครื่อง Bombe แบบใช้งานได้จริง เดินเครื่องแสดงการทำงานให้ผู้เข้าชมศึกษาได้อย่างใกล้ชิดที่ Bletchley Park ในปัจจุบัน (Image: Elliott Brown)
(Image: Cybergate9)
(Image: Megashorts)
นอกจากรหัส Enigma ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังมีการใช้รหัสลับแบบอื่นๆ อย่างเช่น รหัส Lorenz ซึ่งถูกใช้โดยกองทัพนาซีเยอรมันเช่นกัน ภาพนี้คือกลไกภายในเครื่อง Lorenz SZ42 ซึ่งใช้การเข้ารหัสแบบกระแส Vernam ที่มีตัวหมุน rotor 6 ตัว (Image: SBA73)
เครื่อง The Tunny Machine ที่สามารถแปลงรหัส Lorenz ถูกจัดแสดงอยู่ที่ The National Museum of Computing เช่นกัน (Image: Tristan Greaves)
อีกหนึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคบุกเบิก ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาใหม่และจัดแสดงอยู่ที่ The National Museum of Computing ใน Bletchley Park คือเครื่อง The Colossus ซึ่งถือเป็น electronic digital computer เครื่องแรกของโลกที่ Alan Turing มีส่วนช่วยในการออกแบบขึ้นมา และได้กลายเป็นกำลังสำคัญในการย่นระยะเวลาในการแปลงรหัสลับจากเยอรมันให้เร็วขึ้นอย่างมาก (Image: National Museum of Computing)
รูปปั้นขนาดเท่าของจริงของ Alan Turing บิดาแห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ และ นักถอดรหัสยุคสงคราม ตั้งอยู่ที่ Bletchley Park สร้างขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงผลงานและความสามารถที่เขาได้ทำให้กับประเทศอังกฤษ (Image: Georg Schmidt)
[su_tabs active=”2″]
[su_tab title=”Details”]
Opening Hours:
ช่วงฤดูหนาว (1 พฤศจิกายน – 28 กุมภาพันธุ์)
เวลา 9.30 น. ถึง 16.00 น.
เปิดให้เข้าชมรอบสุดท้ายเวลา 15.00 น.
ช่วงฤดูร้อน (1 มีนาคม – 31 ตุลาคม)
เวลา 9.30 น. ถึง 17.00 น.
เปิดให้เข้าชมรอบสุดท้ายเวลา 16.00 น.
Bletchley Park เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน ยกเว้นวันที่ 24, 25, 26 ธันวาคม และ 1 มกราคม ของทุกปี
Price:
ผู้ใหญ่: £16.75
เด็กอายุ 12 – 16 ปี: £10.00
เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี: Free
บัตรแบบครอบครัว (ผู้ใหญ่ 2 คน + เด็ก 2 คนที่อายุ 12 – 16 ปี): £38.50
ราคาพิเศษสำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี และนักศึกษาที่มีบัตรประจำตัว: £14.75
[/su_tab]
[su_tab title=”Location”]
The Mansion,
Bletchley Park, Sherwood Drive,
Bletchley, Milton Keynes, MK3 6EB
[su_gmap address=”bletchley park”]
[/su_tab][/su_tabs]
[hr align=”center” style=”dotted”]
Source: IBTimes UK